ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้ว เป็นก้อน

ฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นตัวช่วยในการแก้ไขปัญหาใต้ตาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่หลายคนมีปัญหาหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาจากคลินิกอื่น คือฉีดแล้วเป็นก้อน เป็นลำ ไม่เรียบเนียน ใต้ตาแย่กว่าตอนก่อนฉีด หรือบางท่านมีประสบการณ์เคยฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนแข็ง ต้องไปขูดออกเลยกลัวที่จะฉีดฟิลเลอร์อีก 

ซึ่งการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน จัดเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างความกังวลใจได้ไม่น้อยเลยครับ

ในบทความนี้ หมอจึงมาอธิบายว่าการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง จะป้องกันไม่ให้ฟิลเลอร์เป็นก้อนได้อย่างไร พร้อมทั้งวิธีแก้ไขที่ควรรู้ครับ


ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้ว เป็นก้อน

ฉีดใต้ตาแล้ว เป็นก้อนแข็ง บวม เกิดได้จากหลายสาเหตุ สิ่งแรกที่ควรพิจารณาคือ ดูว่าเป็นช่วงแรกของการฉีดฟิลเลอร์หรือไม่ ซึ่งอาการบวม คลำได้เป็นก้อนหรือเป็นไต ๆ ได้ในช่วง 7 – 14 วันหลังฉีดฟิลเลอร์ สามารถเกิดได้เป็นปกติ เนื่องจากฟิลเลอร์ยังไม่เข้าที่ดีและบางรายมีอาการบวมเข็มร่วมด้วย กรณีนี้ก็ไม่เรียกว่าฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนนะครับ

แต่ถ้าฉีด 3 – 4 สัปดาห์แล้วยังเป็นก้อนที่เห็นได้ชัดหรือเกิดเป็นก้อนแข็งเมื่อระยะเวลาผ่านไปเป็นปีหรือฟิลเลอร์เคลื่อนที่ผิดตำแหน่ง กรณีนี้ควรทำการแก้ไขครับ โดยเบื้องต้นให้ดูว่าใช้ฟิลเลอร์ยี่ห้ออะไร รุ่นไหน เป็นฟิลเลอร์ของแท้ที่มีมาตรฐานหรือไม่ ฝีมือของแพทย์และเทคนิคที่ใช้ในการฉีด รวมถึงการปฏิบัติตัวของคนไข้หลังฉีดครับ

ใต้ตาเป็นก้อน
ลักษณะของฟิลเลอร์ใต้ตาที่มีปัญหา คลำพบก้อนใต้ตา เป็นลำชัดเจน ซึ่งต้องทำการแก้ไข

สาเหตุที่ทำให้ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน

  1. เลือกใช้ชนิดฟิลเลอร์ที่ไม่ตรงกับตำแหน่งที่ฉีด

ปัญหาใต้ตาเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ เกิดจากชั้นผิวใต้ตาที่บางลง ทำให้ใต้ตาคล้ำ ไม่ชุ่มชื้น ดูโทรม และเกิดจากกระดูกใต้ตามีการยุบตัว ทำให้เกิดร่องใต้ตา ใต้ตาหย่อนคล้อย มีถุงใต้ตา ดังนั้น ฟิลเลอร์รุ่นที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้จะแตกต่างกันตามปัญหาครับ

เช่น หากนำฟิลเลอร์ที่มีขนาดของโมเลกุลมีความหนาแน่นสูง ที่ควรฉีดในผิวชั้นลึกเพื่อยกกระดูก แต่นำมาฉีดในผิวชั้นตื้นก็จะทำให้ฟิลเลอร์เป็นก้อนได้ แม้จะใช้ฟิลเลอร์ของแท้ก็ตามครับ

ฟิลเลอร์รุ่นที่เหมาะสมกับใต้ตา

ฟิลเลอร์ใต้ตาใช้ได้หลายรุ่น หมอที่มีประสบการณ์จะสามารถเลือกใช้รุ่นฟิลเลอร์ที่เหมาะสมกับคนไข้ในแต่ละเคสได้

  1. การใช้ปริมาณฟิลเลอร์ไม่เหมาะสม

หากฉีดฟิลเลอร์ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม เกินความจำเป็นในจุดที่ต้องการฉีด จะทำให้เกิดใต้ตาเป็นก้อนขึ้นมาได้ ซึ่งโดยทั่วไป ฟิลเลอร์ใต้ตาใช้ข้างละ 1-2 CC ครับ

  1. แพทย์ที่ฉีดให้ไม่มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านการฉีดฟิลเลอร์

หากแพทย์ที่ทำการฉีดไม่มีประสบการณ์มากพอหรือเป็นหมอกระเป๋า จะไม่มีความรู้เกี่ยวกับฟิลเลอร์แต่ละชนิดมากพอ รวมถึงไม่รู้โครงสร้างสรีรวิทยาของร่างกายมนุษย์ ศิลปะด้านการปรับรูปหน้าเพื่อให้คนไข้ได้รับผลที่พึงพอใจและคุ้มค่าที่สุด ทำให้ผลของการฉีดฟิลเลอร์เป็นก้อนได้

  1. ใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

การใช้ฟิลเลอร์ปลอม ฟิลเลอร์ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะไม่สามารถสลายได้ อาจจะดูสวยเรียบเนียนในช่วงแรกที่ฉีด แต่เมื่อเวลาผ่านไปจะจับตัวกันเป็นก้อน ไหลย้อยไม่เป็นทรงได้

ซึ่งคนไข้ไม่ควรฉีดฟิลเลอร์ปลอมโดยเด็ดขาด เนื่องจากไม่มีตัวยาที่นำมาฉีดสลายฟิลเลอร์ปลอมได้ เมื่อมีปัญหาต้องขูดออกหรือศัลยกรรมผ่าตัดออกเท่านั้น ทำให้เจ็บตัวหลายครั้ง หรืออาจเกิดเป็นพังผืดยากที่จะแก้ไข


วิธีแก้ปัญหาฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน

  1. ฉีดสลายฟิลเลอร์

ตัวยาสลายฟิลเลอร์ที่มีชื่อว่า ยาไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase : HYAL) จะใช้สลายฟิลเลอร์แท้ที่เป็น HA ได้เท่านั้น โดยปริมาณที่ใช้จะคำนวณจากฟิลเลอร์ที่เหลืออยู่ในบริเวณที่ต้องการสลาย และสามารถฉีดสลายบางส่วนเพื่อปรับแต่งหรือจะสลายทั้งหมดก็ได้ เมื่อฉีดแล้วจะไม่กระทบเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ

หลังฉีดสลายจะเห็นผลว่าสลายทันทีในบางส่วน และจะสลายมากขึ้นในเวลา 1-3 วัน หากต้องการฉีดฟิลเลอร์เพิ่มควรเว้นระยะเวลา 1 สัปดาห์ก่อนครับ

Hyaluronidase
Hyaluronidase เป็นเอนไซม์ที่ใช้ย่อยสลายฟิลเลอร์ให้เป็น Hyaluronan fragment และขับออกจากร่างกาย
เคสสลายฟิลเลอร์ใต้ตา
เคสนี้มีปัญหาฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาจากคลินิกอื่นมาแล้วเป็นก้อน หมอจึงใช้ Hyaluronidase สลาย ซึ่งเมื่อฉีดแล้วจะเห็นผลว่าสลายทันทีบางส่วน
  1. การขูดฟิลเลอร์

หากใช้ฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่สามารถฉีดสลายได้ เช่น Polyamine (Aqualift), Hydrofilic gel จะต้องใช้วิธีขูดฟิลเลอร์ออก ซึ่งไม่สามารถเอาออกได้หมด อาจจะนำฟิลเลอร์ออกได้เพียง 60-70% เท่านั้นครับ

  1. การผ่าตัดเพื่อเอาฟิลเลอร์ออก

การผ่าตัดเอาฟิลเลอร์ออกมักใช้กับฟิลเลอร์ประเภทซิลิโคนเหลว เป็นก้อนขนาดใหญ่และแข็งมาก หรือฉีดฟิลเลอร์มานานจนเป็นพังผืดเกาะ แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ไม่สามารถเอาฟิลเลอร์ออกได้หมด ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ฉีดมา ในการผ่าตัดต้องระวังทั้งเรื่องของเส้นประสาท เส้นเลือดสำคัญต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมในโรงพยาบาลครับ


สรุป ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้ว เป็นก้อน

ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน มีโอกาสเกิดขึ้นได้แม้จะใช้ฟิลเลอร์แท้ ซึ่งอาจจะเกิดจากเทคนิคของแพทย์ที่ใช้ เลือกรุ่นฟิลเลอร์ไม่เหมาะสม หรือการปฏิบัติตัวหลังฉีด ซึ่งถ้าเป็นฟิลเลอร์แท้ ก็สามารถแก้ไขได้โดยการฉีดสลายฟิลเลอร์ แต่ถ้าเป็นฟิลเลอร์ปลอม ฉีดกับหมอกระเป๋า จะแก้ไขด้วยการขูดออกหรือผ่าตัดเท่านั้น ซึ่งทำให้เสียเวลาหรือเสียโฉมได้ครับ

ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจฉีด ควรศึกษาหาข้อมูลและเลือกฉีดฟิลเลอร์กับคลินิกที่ได้มาตรฐาน มั่นใจว่าแพทย์มีประสบการณ์มากพอ และใช้ผลิตภัณฑ์ของแท้ที่ตรวจสอบได้เท่านั้นครับ


สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ V Square Clinic ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง Inbox Facebook หรือ Line นี้ได้เลยครับ หมอตอบเองครับ

Banner_Web_หมอให้คำปรึกษา_หมอ34คน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษานโยบายความเป็นส่วนตัวและจัดการความเป็นส่วนตัว ได้ที่ปุ่มตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า