ฟิลเลอร์ คือสารเติมเต็มประเภทไฮยาลูรอนิค แอซิด (HA) ที่สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ แต่ก็พบได้น้อยมากและส่วนใหญ่มักมีอาการแพ้ที่ไม่ค่อยรุนแรงครับ เบื้องต้นไม่จำเป็นต้องทำการทดสอบอาการแพ้ก่อนฉีด เพราะทางการแพทย์ยังถือว่าสาร HA เป็นสารที่มีความปลอดภัยสูงครับ
อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้ หมอจะมาอธิบายว่าอาการแพ้ฟิลเลอร์เป็นอย่างไร อาการแบบไหนคืออาการปกติหลังฉีดฟิลเลอร์ รวมถึงข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติหลังฉีดฟิลเลอร์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและปลอดภัยครับ
- เป็นก้อน นูน แดงอักเสบ ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ผ่านพ้นไปแล้วเป็นเวลาหลาย ๆ เดือนหรือเป็นปี ขึ้นอยู่กับอายุการใช้งานของฟิลเลอร์ชนิดนั้น ๆ และภูมิคุ้มกันของผู้ที่รับการฉีด
- เกิดเป็นผื่นแดง คัน เป็นเวลานานกว่าปกติ หากมีอาการเหล่านี้สามารถทานยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการได้ โดยต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
- ลมพิษ (Angioedema) คือ อาการบวมและมีผื่นคันใต้ชั้นผิวหนัง รู้สึกแสบร้อนและเจ็บบริเวณที่บวม หากมีอาการรุนแรงอาจส่งผลต่อการหายใจและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งอาการแพ้ลักษณะนี้ จะเกิดขึ้น ภายใน 15 นาทีหลังฉีด หากฉีดกับแพทย์ที่มีใบอนุญาตจะสามารถทำการรักษาได้ทันท่วงทีครับ
ความแตกต่างของผลข้างเคียงหลังฉีดฟิลเลอร์กับอาการแพ้ฟิลเลอร์
นอกจากอาการแพ้ฟิลเลอร์ที่ได้กล่าวไป การฉีดฟิลเลอร์อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ได้ หากฉีดกับคลินิกที่ไม่ได้มาตรฐานหรือฉีดผิดวิธี ซึ่งหมอแนะนำให้สังเกตอาการเบื้องต้น ดังนี้ครับ
- อาการบวมบริเวณที่ฉีด เกิดรอยแดง หรือรอยช้ำ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติ จะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ ซึ่งกรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นผลข้างเคียงครับ
- ฟิลเลอร์เป็นก้อน เกิดรอยนูนหรือผิวไม่เรียบ (beading) เกิดจากใช้เทคนิคการฉีดที่ตื้นเกินไป ฉีดปริมาณมากเกินไป หรือเลือกใช้ฟิลเลอร์ที่มีขนาดโมเลกุลไม่เหมาะสม
- ฟิลเลอร์มีการเคลื่อนไปยังบริเวณข้างเคียงที่ไม่ต้องการ มักเกิดเมื่อมีการฉีดฟิลเลอร์ใกล้ ๆ กับกล้ามเนื้อที่มีการขยับบ่อย ๆ ซึ่งกรณีนี้เกิดจากเทคนิคที่ใช้ฉีดและฟิลเลอร์ที่เลือกใช้ไม่เหมาะสม
- การติดเชื้อภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ มีอาการตั้งแต่ ปวดบวม แดง ร้อน มีตุ่ม หรือก้อนหนองบริเวณที่ฉีด เนื่องจากเทคนิควิธีการฉีดที่ไม่สะอาด คลินิกไม่ได้มาตรฐาน หรือฉีดกับหมอกระเป๋า
- การที่ฉีดฟิลเลอร์ผิดตำแหน่ง โดยฉีดเข้าไปโดนบริเวณหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดแดงอาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดได้นำไปสู่อาการเนื้อตาย (necrosis) บริเวณที่เส้นเลือดนั้นมาเลี้ยง
- ตาบอด ภายหลังการฉีดฟิลเลอร์เนื่องมาจาก ฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไปอุดตัน บีบ หรือกดหลอดเลือดแดง (supratrochlear and supraorbital artery) ซึ่งมีแขนงต่อไปที่หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา (ophthalmic artery) มีผลทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
ใครบ้างที่ไม่เหมาะกับการฉีดฟิลเลอร์? ข้อห้ามในการฉีดฟิลเลอร์
การฉีดฟิลเลอร์ไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางประเภท ก่อนที่จะตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยครับ
ผู้ที่ไม่ควรฉีดฟิลเลอร์
- ผู้ที่มีอาการแพ้ฟิลเลอร์ หรือแพ้สารไฮยาลูรอนิกแอซิด ฉีดฟิลเลอร์ไม่ได้เด็ดขาด รวมถึงผู้ที่มีประวัติแพ้ยาชา ควรแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้ง
- สตรีมีครรภ์ไม่ควรฉีดฟิลเลอร์ สำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนฉีด
- ผู้ที่มีปัญหาเลือดออกแล้วหยุดยาก มีแผลฟกช้ำง่าย โดยเฉพาะผู้ที่กำลังรับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน (ASA), ยาแก้อักเสบปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (NSAIDS), ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Warfarin), วิตามินอี (Vitamin E), สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba) เป็นต้น แต่สามารถฉีดได้ในบางกรณี จึงจำเป็นต้องหยุดยาก่อนฉีด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการหยุดยาครับ
- กรณีที่เป็นเริม หรืองูสวัดอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการฉีดฟิลเลอร์ เพราะอาจทำให้อาการกำเริบมากขึ้นได้ครับ
สรุป อาการแพ้ฟิลเลอร์
อาการแพ้ฟิลเลอร์เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ แต่พบได้ไม่บ่อย และอาการส่วนใหญ่ไม่รุนแรง สามารถรักษาให้หายได้ จึงไม่ต้องกังวลใจไปว่าจะเป็นอันตราย แต่ทั้งนี้ควรใช้ฟิลเลอร์ที่เป็นสาร Hyaluronic acid แท้และฉีดโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์เท่านั้น เพราะหากเกิดอาการแพ้รุนแรง แพทย์ก็จะสามารถรักษาได้ทันท่วงทีครับ
ที่ V square clinic ใช้ฟิลเลอร์ยี่ห้อมาตรฐาน ของแท้ทุกรุ่น แกะกล่อง แกะหลอดใหม่ให้ดูต่อหน้า คนไข้สามารถนำกล่องและหลอดกลับบ้านได้ อีกทั้งแพทย์ทุกท่าน มีประสบการณ์ด้านปรับรูปหน้ากว่า 5-10 ปี รับประกันผลทุกเคส มั่นใจได้ว่าปลอดภัยครับ
สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ V Square Clinic ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง Inbox Facebook หรือ Line นี้ได้เลยครับ หมอตอบเองครับ