ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา อันตรายไหม มีผลข้างเคียงหรือไม่ เป็นคำถามที่หมอมักจะได้รับบ่อย ๆ จากคนไข้ที่คิดจะฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นครั้งแรก บางคนกังวลว่าฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วตาบอดจริงไหม จะเป็นก้อน ย้อย ไม่เป็นทรงหรือเปล่า
หมอได้รวบรวมคำตอบที่หลายคนสงสัย ข้อดี-ข้อเสียของการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเมื่อเทียบกับวิธีอื่น รวมถึงวิธีการเลือกคลินิกฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาอย่างไรให้ปลอดภัย ไว้ในบทความนี้แล้วครับ
สารบัญ ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา อันตรายไหม
ประเภทของฟิลเลอร์ที่ใช้ ไม่ปลอดภัย ไม่ผ่านอย.
ฟิลเลอร์มีหลายประเภท มีทั้งแบบที่สลายได้เองตามธรรมชาติ และแบบถาวรไม่สามารถสลายได้ โดยชนิดของฟิลเลอร์ (Injectable filler) ในความหมายสากล ได้แก่
- Collagen จากสัตว์ เป็นชนิดไม่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากจะมีอาการแพ้ฟิลเลอร์ แพ้บวมแดงได้ง่าย
- Transplanted Fat (เติมไขมัน) เหมาะกับคนที่ต้องการฉีดครั้งละมาก ๆ 10-20 CC ขึ้นไป
- Biosynthetic polymers มีทั้งแบบถาวร (Permanent fillers) และกึ่งถาวร (Semi-Permanent fillers) เช่น ซิลิโคนเหลว, พาราฟิน, polymethylmethacrylate และ Calcium hydroxylapatite ฟิลเลอร์ในกลุ่มนี้จะเป็นฟิลเลอร์ชนิดที่สลายไม่หมด ควรหลีกเลี่ยง เพราะไม่ปลอดภัย ไม่ผ่าน อย. ครับ
- HA (Hyaluronic Acid) เป็นฟิลเลอร์ชนิดชั่วคราว (Temporary fillers) สามารถย่อยสลายเองได้ และสามารถฉีดใหม่ได้เรื่อย ๆ ปลอดภัยและนิยมใช้มากที่สุด ในวงการแพทย์ไทย เมื่อพูดถึง “ฟิลเลอร์” จะหมายถึงสาร HA นี้เองครับ ที่สำคัญคือ ผ่านอย. ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ
ตามข่าวหรือสื่อต่าง ๆ ตีพิมพ์ จะใช้คำว่า “ฟิลเลอร์” ตามหลักสากล ซึ่งจะเป็นความหมายรวมฟิลเลอร์ทั้ง 4 ประเภท เช่น ในสื่อเขียนว่า ฉีดฟิลเลอร์แล้วหน้าพัง แต่เมื่อดูเนื้อข่าวแล้ว ฟิลเลอร์ที่ฉีดนั้นเป็นฟิลเลอร์ประเภท Biosynthetic polymers ที่ไม่ปลอดภัยและฉีดกับหมอกระเป๋า จึงทำให้หลายคนเข้าใจผิด
ถ้าจะให้คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจถูกต้องควรจะพาดหัวข่าวว่า ฉีดฟิลเลอร์ปลอมแล้วหน้าพัง แบบนี้แทน เพราะฟิลเลอร์แท้ ประเภท HA เป็นฟิลเลอร์ที่มีความปลอดภัยและผ่านอย. ครับ
ในปี 2018 – 2020 พบผู้ป่วยที่ตาบอดจากการฉีดฟิลเลอร์ 190 ราย เกิดจากการฉีดไขมันสูงที่สุด รองลงมาคือฟิลเลอร์ HA และฟิลเลอร์ประเภทอื่น ๆ
ที่มา Chatrath V, Banerjee PS, Goodman GJ, Rahman E. Soft-tissue filler–associated blindness: a systematic review of case reports and case series. Plastic and Reconstructive Surgery Global Open. 2019 Apr;7(4). https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6554164/
ทั้งนี้ มีการศึกษาที่พบว่า คนไข้ที่ตาบอดจากการฉีดฟิลเลอร์ประเภท HA บางราย สามารถหายเป็นปกติได้เมื่อรักษายาสลายฟิลเลอร์ Hyaluronidase ดังนั้น ฟิลเลอร์ HA ถือว่าเป็นฟิลเลอร์ที่มีความปลอดภัยสูงเมื่อเทียบกับฟิลเลอร์ชนิดอื่น ๆ ครับ
ยี่ห้อและรุ่นฟิลเลอร์ที่เลือกใช้ไม่ผ่าน อย. ฟิลเลอร์ปลอม
ถึงแม้จะใช้ฟิลเลอร์ที่เป็นไฮยาลูรอนิค แอซิด แต่ไม่ได้การันตีว่าจะปลอดภัยเสมอไปครับ เพราะปัจจุบันมีฟิลเลอร์ที่ขายในท้องตลาดหลายยี่ห้อ หากไม่ได้ตรวจสอบว่าเป็นฟิลเลอร์ของแท้ ก็อาจจะเกิดการปนเปื้อนของส่วนผสมที่อันตรายหรือทำให้ไม่สลายได้ครับ หมอจึงแนะนำให้ตรวจสอบก่อนฉีดทุกครั้ง ดังนี้
- หมอแนะนำให้ใช้ฟิลเลอร์ที่ผ่านการรับรองจากอย. ประเทศไทยเท่านั้น ส่วนยี่ห้อที่ไม่ผ่านการรับรองจาก อย. มักเป็นฟิลเลอร์ปลอมที่ควรหลีกเลี่ยงครับ
ฟิลเลอร์ยี่ห้อมาตรฐาน ที่ผ่านการรับรองจากอย. ประเทศไทย (อัพเดตปี 2024)
- การฉีดกับบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์หรือหมอกระเป๋า มักจะเป็นฟิลเลอร์ของปลอมครับ เพราะฟิลเลอร์ของแท้ที่มีการนำเข้ามาอย่างถูกต้องจะจำหน่ายให้ผู้เป็นแพทย์ที่มีใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพถูกต้องเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่หมอกระเป๋าจะหาฟิลเลอร์ของแท้มาได้ครับ
- ฟิลเลอร์หิ้วเป็นฟิลเลอร์ที่ไม่สามารถตรวจสอบที่มาได้ ฟิลเลอร์ที่ขายตามอินเทอร์เน็ต ก็น่าจะเป็นฟิลเลอร์ปลอมเช่นเดียวกัน หรือเป็นฟิลเลอร์ที่ไม่ได้ถูกขนส่งตามมาตรฐาน ทำให้ยาเสื่อมสภาพ เกิดปัญหาภายหลังได้ครับ
- ก่อนฉีดทุกครั้ง หมอที่ทำการฉีดให้ควรจะแกะกล่อง แกะหลอดให้ดูต่อหน้า และนำกล่องหรือหลอดกลับบ้านได้ ให้หลีกเลี่ยงคลินิกที่ไม่ยินยอมให้ทราบชื่อของฟิลเลอร์ หรือให้เห็นเพียงเข็มที่ใช้ฉีด เนื่องจากมีโอกาสเป็นฟิลเลอร์ปลอมสูงมากครับ
- ควรพิจารณาที่มีราคาสมเหตุสมผล ไม่ถูก หรือแพงจนเกินไป แต่สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบผลิตภัณฑ์ก่อนฉีดได้ตามที่อธิบายไว้ในข้อ 4. ครับ
- ควรตรวจสอบฟิลเลอร์ โดยการดูบริเวณข้างกล่องและหลอดของฟิลเลอร์ จะปรากฏ Lot No., วันที่ผลิต, วันหมดอายุ และเลขที่อ้างอิง (Reference No.) สามารถตรวจสอบอ้างอิงกลับไปยังผู้ผลิตได้ รวมถึงต้องดูจุดสังเกตเฉพาะของแต่ละยี่ห้อด้วยครับ
ฟิลเลอร์ปลอม ส่งผลข้างเคียงได้หลายอย่าง ควรตรวจสอบฟิลเลอร์ให้มั่นใจทุกครั้งว่าเป็นของแท้
เทคนิคที่ใช้ในการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ประสบการณ์ของแพทย์
ประสบการณ์ของแพทย์มีส่วนสำคัญอย่างมากในการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาครับ เพราะหมอจะต้องมีความรู้ทางด้านกายวิภาคเป็นอย่างดี มีเทคนิคการฉีดที่ถูกต้อง และสามารถเลือกรุ่นฟิลเลอร์ได้เหมาะสมกับตำแหน่งที่ฉีดและเหมาะกับใต้ตาของคนไข้ ผลที่ได้จึงจะออกมาสวยงามและปลอดภัยครับ
หากฉีดกับหมอกระเป๋าหรือแพทย์ที่ไม่มีประสบการณ์ มีโอกาสที่จะเกิดอันตรายหรือผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์สูงมากครับ เช่น ฟิลเลอร์เป็นก้อน เป็นคลื่น บวมอักเสบ ติดเชื้อ หากฉีดเข้าเส้นเลือด อาจเกิดเนื้อตายหรือตาบอดได้ครับ
เลือกฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาที่ไหนดี ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน
ตอนนี้ เราก็ทราบแล้วว่าการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตานั้นอาจเกิดอันตรายได้หากฉีดแพทย์ที่ไม่มีประสบการณ์หรือหมอกระเป๋า รวมถึงการใช้ฟิลเลอร์ของปลอมที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าคลินิกไหนที่ไว้ใจได้ ก่อนตัดสินใจเลือกคลินิก หมอแนะนำให้พิจารณาดังนี้ครับ
วิธีการเลือกคลินิก
- มีการแสดงชื่อ ภาพถ่าย รวมทั้งเลขที่ใบอนุญาต 11 หลักของผู้ประกอบการหรือคลินิกนั้น ๆ ให้เห็นได้อย่างชัดเจน
- ในบริเวณคลินิกสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย มีแสงสว่างเพียงพอ ห้องหัตถการกว้างขวาง
- อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้ในการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาในคลินิกจะต้องผ่านการฆ่าเชื้อ ถูกต้องตามหลักอนามัย
- ควรเลือกทำกับคลินิกที่มีคุณหมอแบบ Full-time ประจำอยู่ เพราะแพทย์ที่อยู่ประจำจะมีการติดตามการรักษาได้ต่อเนื่องและย่อมจะรักษาชื่อเสียงของคลินิกได้มากกว่าแพทย์ Part-time
- สถานที่ตั้งของคลินิก ควรอยู่ในห้างสรรพสินค้า หรืออยู่ในบริเวณที่มีผู้คนผ่านไปมาตลอดทั้งวัน มีความปลอดภัย และเดินทางไปได้สะดวก โดยเฉพาะกรณีที่เกิดปัญหาที่ต้องรีบเข้ามาติดต่อที่คลินิก
- คลินิกควรมีช่องทางติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ และช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Line@ หรือ Facebook สำหรับให้คนไข้สามารถสอบถามข้อสงสัยกับคุณหมอที่ทำเคสของตนเองโดยตรงได้อย่างสะดวก
- ควรมีรีวิวจากผู้ที่เคยใช้บริการจริง เปรียบเทียบผลการรักษา ก่อนทำ-หลังทำ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
วิธีการเลือกแพทย์
- มีป้ายประจำตัวเแพทย์ และเลขที่ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม นำชื่อ – นามสกุลของหมอไปตรวจสอบกับเว็บไซต์แพทยสภาได้
- มีประสบการณ์ในการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา อย่างน้อย 5 ปี
- มีรีวิวในแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น pantip, facebook ที่คลินิกไม่สามารถลบข้อความได้ ว่ามีที่ผ่านมาเคยมีผู้ที่เข้ารับการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาจากคุณหมอท่านนั้นมากน้อยเพียงใด และคุณหมอเคยมีประสบการณ์ด้านการฉีดฟิลเลอร์มาเยอะหรือไม่ และคำบอกเล่าประสบการณ์จากผู้ใช้บริการจริง
- หากมีคลิปรีวิว ที่ไม่ได้มีการแต่งภาพเพิ่ม จะยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือได้ครับ
- สามารถเข้าไปปรึกษาและตรวจประเมินอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจทำได้
- ก่อนฉีด หมออธิบายผลิตภัณฑ์ ชี้ให้เห็นถึงเลข Lot. วันหมดอายุ แกะกล่อง แกะหลอดฟิลเลอร์ต่อหน้า เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นฟิลเลอร์ของแท้ และนำหลอดที่ฉีดแล้วกลับบ้านเพื่อตรวจสอบได้
สรุป ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา อันตรายไหม
ฟิลเลอร์ใต้ตา อันตรายไหม ขึ้นอยู่กับประเภทของฟิลเลอร์ที่เลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นของแท้หรือไม่ รวมถึงประสบการณ์ของแพทย์ที่ทำการฉีดครับ ถ้าเราเลือกคลินิกที่ฉีดได้ไม่ดีพอ อาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้ เช่น การอักเสบติดเชื้อ เป็นก้อนแข็ง หรือที่ร้ายแรงที่สุดคือตาบอดได้เลยครับ
ดังนั้น ผู้ที่กำลังตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ควรเลือกฉีดที่คลินิกที่ได้มาตรฐาน แพทย์ที่ฉีดต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 5-10 ปี และใช้ฟิลเลอร์ของแท้ สามารถตรวจสอบได้เท่านั้น ถึงจะได้ผลลัพธ์ที่สวยตรงใจและปลอดภัยครับ
สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ V Square Clinic ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง Inbox Facebook หรือ Line นี้ได้เลยครับ หมอตอบเองครับ